ขตพื้นที่อำเภอพบพระ เดิมอยู่ในเขตการปกครอของตำบลช่องแคบ อ.แม่สอด จ.ตาก คำว่า "พบพระ" มีคำบอกเล่าของนายสูน อดีตผู้ใหญ่บ้านคนที่สองของบ้านเพอพะ ว่าเมื่อตนอายุได้ 12 ปี ได้อพยพมาพร้อมกับบิดาจากบ้านแม่ตาว อ.แม่สอด มาตั้งบ้านเรือนอยู่พร้อมกับญาติรวม 4 หลังคาซึ่งในสมัยก่อนท้องที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์มากมีป่าไม้มากมาย และมีบริเวณที่ตั้งของโรงพยาบาล พบพระปัจจุบันมีลักษณะพื้นที่เป็นดงป่าหวาย ดงเตยและดงแขม มีน้ำไหลมาจากน้ำออกรูท่วมขังบริเวณนี้เฉอะแฉะ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า "เพอะพะ" ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ แปลว่า บริเวณที่มีน้ำขังเป็นแอ่งกระจัดกระจายเปรอะเฉอะแฉะไปทั่ว ทำให้การสัญจรไปมา ลำบากนั่นเอง เมื่อตั้งบ้านเรือนมาได้ 3 ปี ทางราชการจึงประกาศเป็นหมู่บ้านขึ้น เรียกชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านเพอะพะ" ตามลักษณะพื้นที่แห่งนี้ ต่อมาได้มีการเสนอแยกตำบลช่องแคบออกมาอีก 1 ตำบล ให้ชื่อตำบลใหม่ว่า "ตำบลพบพระ" เพื่อให้สอดคล้องกับคำเดิมที่มีความไพเราะและเป็นศิริมงคล โดยเป็นชื่อ "เพอะพะ" เป็น "พบพระ" ไปพร้อมกันเป็นเหตุให้คำว่า "เพอะพะ" เป็น "พบพระ" นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมาเนื่องจากอำเภอแม่สอดมีพื้นที่กว้างขวาง มีอุปสรรคต่อการปกครองดูแลราษฎร ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะพื้นที่ตำบลช่องแคบ และตำบลพบพระ มีผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์แทรกซึม ดังนั้น พ.ศ. 2513 จึงแยกตำบลคีรีราษฎร์เป็นตำบลอีกตำบลหนึ่งรวมเป็น 3 ตำบล และขอเสนอตั้งกิ่งอำเภอใหม่ ซึ่งเรียกกิ่งอำเภอใหม่ว่า "กิ่งอำเภอพบพระ" ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2530